 |
•
อัพเดทล่าสุด
:
2023-06-02 • |
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
ขู่กันมาหลายครั้ง และมักทำให้สับสนว่าแอลพีจีจะลอยตัวไปจนถึงลิตรละกี่บาทแน่ และเมื่อขึ้นหลายครั้งในช่วงต้นปี ก็ไม่เห็นแพงนัก ทุกวันนี้ราคาปลีกลิตรละ 12 บาท แต่น้ำมันลิตรละแถวๆ 32-35 บาท ยังไงก็ยังห่างและคุ้มกับการใช้แก๊ส
ล่าสุดกลางเดือนก.ค. 55 ราชการออกข่าวชัดเจนว่าจะปรับราคาแอลพีจีทั้งระบบให้เท่ากับกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาคขนส่งและหุงต้ม ตัวเลขแสดงออกมาเป็นกิโลกรัม และเน้นตัวเลขเพิ่มดุเดือด ดึงมาจากภาคครัวเรือนที่ตรึงไว้จนต่ำมาก
ความจริง คือ เดิมภาคอุตสาหกรรม 24.86 บาทต่อกิโลกรัม, ภาคขนส่ง 21.13 บาทต่อกิโลกรัม และภาคครัวเรือน 18.13 บาทต่อกิโลกรัม
ถ้าดูตัวเลขของภาคหุงต้ม ต้องแพงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 6.73 บาท หลายคนจึงเข้าใจผิดว่า ภาคขนส่งหรือที่ใช้ในรถจะแพงอีกลิตรละ 6 บาท ทั้งที่ไม่ใช่ !
อ่านให้ขาด นั่นหน่วยเป็นกิโลกรัม (จริงแล้ว 1 ลิตรเท่ากับ 0.55 กิโลกรัม)
และที่สำคัญคือ ราคาภาคขนส่ง เดิม 21.13 บาท ต่ำกว่าภาคอุตฯ แค่ 3.73 บาทต่อ 1 กิโลกรัม
คำนวณเป็นลิตร หาร 2 คือ ถ้าจะปรับเพิ่มในภาคขนส่ง ก็บวกจากเดิมลิตรละ1.9 บาท จากลิตรละ 12 กลายเป็น 14 บาท
นั่นคือ ถ้าลอยตัวจริงพรวดเดียว ! ซึ่งความจริงมักขยับหลายระลอก ถ้าติดแก๊สตอนนี้กว่าจะลอยถึง 14 บาท ก็คุ้มก่อน
ถามว่า...แอลพีจีลิตรละ 14 บาท ยังน่าใช้ไหม ? ขณะที่น้ำมันลิตรละ 30-40 บาท
คำตอบ คือ น่าใช้
ติดแก๊สก่อน...ประหยัดก่อน
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รมว.พลังงาน เผยปรับโครงสร้าง LPG-NGV ชัดเจน 16 ส.ค.นี้
12 กรกฎาคม 2555 : นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงความชัดเจนในการปรับโครงสร้างราคาแก๊สแอลพีจี และก๊าซเอ็นจีวี ในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ ว่า
ในส่วนของราคาแก๊สแอลพีจี คาดว่าจะกำหนดราคาเป็นราคาเดียวทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน โดยจากปัจจุบันแยกราคาเป็นภาคอุตสาหกรรม 24.86 บาทต่อกิโลกรัม ภาคขนส่ง 21.13 บาทต่อกิโลกรัม และภาคครัวเรือน 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเชื่อว่าอาจมีมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบให้กับผู้ใช้เป็นบางกลุ่มที่เป็นผู้มีรายได้น้อย ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาต่อไป |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
คุณคิดยังไงกับราคาน้ำมันลิตรละ 35
บาท กับแอลพีจี 12-14 บาท เชื่อหรือยังว่า น้ำมันมีลง...ก็ต้องมีขึ้น
อย่าฝันว่าจะลงตลอดนานๆ
ยังไงน้ำมันกับแก๊สก็ต้องมีส่วนต่างที่คุ้มค่า
ราคาค่าติดตั้งแก๊สวันนี้ ก็ถูกกว่าตอนน้ำมันแพงอยู่มาก ถูกลงเป็นหมื่นสองหมื่น
! จะลังเลทำไม? ติดก่อน ได้ใช้ก่อน
แอลพีจี
ประหยัดเงิน มลพิษต่ำ แรงเท่าเดิม ไม่อืด ไม่เหม็น...ไม่ใช่แค่ประหยัด
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
อย่าดูแค่ราคา
กรุณาอ่านให้จบ และดูรายละเอียดให้ดี อู่หรือร้านติดแก๊สในรถยนต์มีมากมาย
และมีหลายระดับราคา อาจมีที่อื่นราคาถูกกว่า แต่ดูให้ดีถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ให้ด้วยว่า
มีมากชิ้น ครบครัน และมีมาตรฐานเท่ากันหรือไม่ อย่ารีบสรุปว่าก๋วยเตี๋ยวชามละ
20 บาทนั้นราคาถูกกว่าชามละ 30 บาท ให้ดูด้วยว่าราคานั้นมีหมูมีผัก
มีเส้นมากและคุณภาพดีหรือไม่ |
|
 |
|
|
|
|
|
|
ทั้ง
2 ระบบ เปรียบเทียบแล้ว…ระบบมิกเซอร์
ก็คือคาร์บูเรเตอร์ชนิดหนึ่งนั่นเอง ซึ่งก็มีข้อดีคือ ไม่ซับซ้อน
ปรับตั้งเองได้บ้าง แต่ก็มีความแม่นยำแค่พอประมาณ ส่วน ระบบหัวฉีด
แม่นยำกว่า ประหยัดกว่าบ้าง ถ้างงให้นึกถึงรถที่ใช้น้ำมันเบนซินระหว่างเครื่องคาร์บูฯ
กับหัวฉีด ว่าดีด้อยยังไง หัวฉีดดีกว่าแน่ๆ แต่อย่าดีแล้วแพงแบบ
3-4 หมื่นบาท ตามที่อื่นทำกัน ซึ่งถือว่าแพงไป เราค้นหาและสั่งซื้อระบบหัวฉีดมาให้ใช้พร้อมขับในราคาไม่แพง
|
|
|
 |
|
|
 |
|
|
ต้องดูด้วยว่ามีระบบตัดกลับน้ำมันอัตโนมัตเมื่อแก๊สหมดหรือเปล่า
ของเรา GAS in CAR มีระบบตัดนี้รวมอยู่ในราคาพร้อมแก๊สเต็มถัง
ระบบหัวฉีดบางยี่ห้อต้องจ่ายเงินเพิ่ม 2,000-3,000 บาท เพื่อให้ได้ระบบนี้
ระบบหัวฉีดควรมีระบบตัดกลับเป็นน้ำมันนี้เป็นมา่ตรฐาน |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
อู่หรือสถานที่ติดแก๊สในรถยนต์มีมากมาย
และมีการใช้กลยุทธ์ตัดราคา ดึงดูดการตัดสินใจ ตั้งราคาให้ถูกไว้ก่อน
จนลูกค้าหลายคนให้ความสนใจและเลือก โดยคิดผิวเผินว่าถูกกว่า
2-4 พันบาท
แต่ในความเป็นจริง
มักพบว่า...ราคาที่ถูกกว่ามักจะมีอุปกรณ์น้อยกว่า หรือแม้กระทั่งเก็บเงินค่าเติมแก๊สเพิ่ม
หรือมีอุปกรณ์พอกัน แต่มีมาตรฐานและความละเอียดในการติดตั้งต่างกัน
GAS
in CAR กล้าท้าพิสูจน์ผลงานว่า...ราคาที่เราตั้ง เมื่อรวมอุปกรณ์
ความมาตรฐาน และความละเอียดในการติดตั้ง จะมีความเหมาะสมกัน
ไม่ได้แพงกว่าใคร (แม้ตัวเลขราคาจะดูมากกว่าก็ตาม) เชิญมาดูผลงานจริงได้
และที่สำคัญ
ทุกคันทุกระบบที่ติดตั้ง เราใช้การจูนด้วย ไวด์แบนด์เอ/เอฟ
มิเตอร์ ทั้งก่อนส่งมอบและเมื่อเวียนกลับเข้ามาจูนในภายหลัง
เราไม่ได้จูนด้วยความรู้สึกหรือจมูกดม ซึ่งแทบไม่มีอู่ติดแก๊สใดใช้
ไวด์แบนด์เอ/เอฟมิเตอร์
เป็นประจำ เพราะเซนเซอร์ที่ใช้ตรวจจับ ราคาตัวละ 4-5 พันบาท
และใช้งานได้ไม่กี่คันก็พัง
ลูกค้าเราจึงมั่นใจว่ารถจะแรงเหมือนเดิมและกินแก๊สอย่างคุ้มค่า
ไม่กินทิ้งขว้าง เพราะจ่ายแก๊สหนา-บางไป
รถคันหนึ่ง...ติดแก๊สครั้งเดียว
ถ้าคุณเลือกด้วยราคาถูกกว่า โดยไม่ดูรายละเอียด อาจต้องเสียใจภายหลังควรเลือกด้วยราคาที่คุ้มค่า
อุปกรณ์ครบครัน และผลงานมีมาตรฐานจะดีกว่า
|
|
|
 |
|
• |
 |
|
|
ผู้ใช้รถหรือเจ้าของอู่
อยากตาสว่าง..ต้องอ่าน !
อย่าหลงตามกระแส
ซื้อยี่ห้อไหน เงินตราก็รั่วไหลออกนอกทั้งนั้น แล้วจะไปเป็นสาวกมันทำไม
!!!
หลายคนงง
ว่าจะเลือกระบบหัวฉีดแก๊สยี่ห้อไรดี เพราะมีในตลาดนับ 10 ยี่ห้อ
คนนั้นว่ายี่ห้อนี้ดี
คนนั้นว่าอีกยี่ห้อนี้ดี บางยี่ห้อปั่นกระแสได้ ทั้งที่ของห่วย
อ่านแล้วคุณจะทราบดีในแบบเรียนลัด
อ่านคำแนะนำนี้
เราไม่ได้ให้เลือกยี่ห้ออะไรหรือของเรา แต่แนะนำด้วยหลักวิศวกรรมที่มีเหตุและผล
เป็นความรู้ที่คุณนำไปใช้เลือกได้อย่างมีหลักการ
1.
ตัวหัวฉีด / ควรเป็นแบบเดี่ยว-แยกอิสระ สูบละตัว เพราะท่อใต้หัวฉีดจะสั้น
ดูจากหัวฉีดน้ำมันสิครับ แยกเป็นตัวและติดตั้งไว้ชิดท่อไอดีไหม
?
หัวฉีดแก๊สที่ทำเป็นราง
2 3 หรือ 4 ตัวและหลอกว่าดีนั้น เพื่อจะได้ขายยกรางเวลาเสีย
ติดตั้งง่าย ดูเรียบร้อย แต่ไม่มีประสิทธิภาพอะไรดีกว่าหัวฉีดเดี่ยวเลย
เรื่องหัวฉีดแก๊สรวมหรือราง เป็นเรื่องแหกตากันทั้งโลกว่า
หัวฉีดแก๊สต้องรวมกัน ถ้าดีจริงทำไมไมทำท่อยางยาวๆ สักเมตรนึง
?
ดังนั้นหัวฉีดเดี่ยว
ยังไงก็ต้องดีกว่า เพราะท่อใต้หัวฉีดสั้นกว่า เสียทีละตัว
แยกจ่ายเงิน และล่าสุด...บางผู้ผลิตหัวฉีดออกรุ่นใหม่แบบเดี่ยว
ฝังลงในท่อไอดีแบบหัวฉีดน้ำมันเลย-ไม่มีท่อยางเลย ถ้าแบบราง+ท่อยางยาวดี
ทำไมมีคนเริ่มทำแบบเดี่ยวจ่อใก้ลๆ ท่อไอดีออกมา
ดูจากท่อยางได้ว่า
ยิ่งสั้นยิ่งดี, หัวฉีดควรมีความต้านทานต่ำ (โอมห์ต่ำ) ไม่ควรเกิน
3 โอมห์ จะทำงานไว, ควรซ่อมได้ในราคาไม่เกิน 800 บาทต่อหัว
และทั้งตัวควรไม่เกิน 1,100 บาทต่อหัว สอบถามก่อนว่า เมื่อเสียคุณต้องจ่ายเท่าไร
(ระวังบางยี่ห้อตัวละ 2-3 พันบาท 4 ตัวเป็นหมื่น)
หัวฉีดแก๊สอายุไม่ยาวเหมือนหัวฉีดน้ำมัน,
ปรับระยะยกได้หรือไม่ เพราะรูหัวฉีดแก๊สใหญ่ ระยะยกเพี้ยนนิดเดียวก็จ่ายต่างแล้ว
พวกที่บอกว่าหัวฉีดไม่เท่าแล้วปรับด้วยโปรแกรมนั้น...มั่ว
เพราะจะรูได้ยังไงว่าปรับแล้วฉีดได้เท่ากันทุกหัว ดูแค่อาการสั่นไม่สั่นเท่านั้นเหรอ
? ถ้าไม่มีออกซิเจนเซนเซอร์ไวด์แบนด์วัดที่ไอเสียแยกสูบละ
1 ตัว การปรับด้วยโปรแกรมจะได้แค่หลอกว่าเครื่องยนต์เดินเบานิ่งเท่านั้น
แต่รถวิ่งไปแล้วจ่ายแก๊สในแต่ละหัวฉีดได้ไม่เท่ากันแน่q
จำง่ายๆ
หัวฉีดต้องเดี่ยว-แยกสูบ โอมห์ต่ำ แน่ใจว่าฉีดได้เท่ากันทุกหัวตั้งแต่เริ่ม
ซ่อมหรือเปลี่ยนทั้งตัวได้ ไม่แพงเกว่า 1 พันบาทต่อตัว
2.
ตัวลดแรงดัน จะเรียกหม้อต้มหรือไม่มี ต้องมีบัฟเฟอร์
หรือห้องพัก-หลังลดแรงดันขนาดใหญ่ แรงดันแก๊สจะได้ไม่แกว่ง
3.
ตัวลดแรงดัน ควรไม่ใช่ระบบกระเดื่อง ควรเป็นแข็มยกขึ้น-ลงตรง
เพราะจะแกว่งและไม่แม่นยำ
4.ควรมีไส้กรองแก๊สทั้งก่อนและหลังลดแรงดัน
ถ้ามีทั้ง 2 ตัว แบบที่ถอดไส้เปลี่ยนได้ จะดีกว่าต้องทิ้งทั้งตัว
บางยี่ห้อมีเฉพาะด้านก่อนลดแรงดัน และตัวไส้กรองก่อนลดแรงดันพร้อมติ๊ก
(โซลินอยด์) ถ้าอยู่แยกกับตัวหม้อต้มหรือตัวลดแรงดันที่ร้อนๆ
จะดีกว่า เพราะติ๊กจะได้ไม่โดนความร้อนสูงอย่างต่อเนื่อง
5.
ท่อยางควรเป็นแบบ 2 ชั้นและเป็นเข็มขัดแบบไขรัด ไม่ใช่เข็มขัดแบบหนีบนิ่มๆ
จะรั่วง่าย
6.
ควรมีระบบตัดกลับน้ำมันอัตโนมัติเมื่อแก๊สหมด โดยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
7.
จูนเนอร์หรือคนจูน ควรมีการอ่านค่าไอเสียด้วย ไวด์แบนด์ออกซิเจน
เซนเซอร์ และในรถรุ่นใหม่ ต้องอ่านด้วยโอบีดีทู ควบคู่ในการจูนแก๊ส
เปรียบเสมือนใส่แว่นแล้วตามองได้ชัด ใครที่บอกว่าโปรแกรมมีออโต้จูน
และจูนด้วยการเดาหรือดูอาการรถ นั่นคือไม่ชัวร์ ระบบออโต้จูน
เมืองนอกระบุในคู่มือชัดเจนว่า สำหรับเพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ได้หรือเริ่มต้นงานจูนเท่านั้น
ต้องจูนละเอียดด้วยคนและเครื่องมืออีกครั้ง
ระวัง ! ระบบหัวฉีดบางยี่ห้อที่โด่งดังจนคนคิดว่าดี
(ตัวย่อ A และ E จากอิตาลี หรือ อ-อ่าง) ช่วงนั้นดังได้เพราะมีสุญญากาศทางการตลาด
ในยุโรปขายไม่ออก ลดราคาให้คนไทย ยี่ห้ออื่นลดราคาตามไม่ได้
เลยขายถูก แต่คุณสมบัติห่วยมาก เช่น หัวฉีดเดี่ยวก็จริง แต่ความต้านทานสูง
15 โอมห์ ไม่มียี่ห้อไหนทำ ซ่อมหัวฉีดไม่ได้ ไส้ในเป็นยางโอริงดำไม่ใช่ไวตัน
โฟล์วเรท-ฉีดไม่เท่ากัน แล้วก็ปรับระยะยกให้ฉีดเท่ากันไม่ได้
ต้องใช้โปรแกรมปรับหลอก เมื่อพังแล้วราคาหัวฉีดตัวละ 2-3 พันบาท,
อ้างว่าไม่มีหม้อต้มแล้วจะดี ทั้งที่ลวกแก๊สในสายก่อนลดแรงดัน
แต่ตัวลดแรงดันสีทอง ไส้ในเป็นแบบกระเดื่องทำงานแกว่งๆ และมีห้องหลังลดแรงดันขนาดเล็กมากๆ
ไม่ถึง 25 ซีซี จนแรงดันแกว่ง เอาติ๊กแก๊สรวมกันกับตัวลดแรงดันร้อนๆ,
ไม่มีไส้กรองแก๊สแรงดันต่ำ ก่อนเข้าตัวหัวฉีด, ระบบตัดกลับน้ำมัน
เมื่อแก๊สหมด ต้องจ่ายเพิ่ม, มีโปรแกรมออโต้จูน ที่ช่างไทยหลงเชื่อว่า
ออโต้จูนแล้วจบงาย เพิ่มลดเลขนิดเดียวแล้วจบ ซึ่งไม่จริง ระวัง
อย่าตามกระแส เพราะปัจจุบันช่างไทยฝีมือดีๆ ล้วนรู้แล้วว่า
ไม่มีอะไรดีจริง จนเริ่มเมิน มีแค่อู่ที่ไม่รู้จริงและตามกระแสหวังฟันเงินลูกค้าเท่านั้น
ที่ยังงมงายเชียร์ลูกค้าให้ใช้อยู่
คำแนะนำทั้งหมด เกิดขึ้นด้วยหลักวิศวกรรมที่มีเหตุและผล
เป็นความรู้ที่คุณนำไปใช้เลือกได้อย่างมีหลักการ |
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
|
ระบบหัวฉีด
มาตรฐานยุโรป ECE-R6701 หัวฉีด หม้อต้ม ติ๊ก ของอิตาลี กรองอลูมีเนียม |
|
|
|
|
|
GAS
in CAR เรียนรู้ว่าไม่มีอุปกรณ์ยี่ห้อใดดีไปทั้งหมด แม้แต้ยี่ห้อที่ปั่นกระแสได้
ก็มีสารพัดจุดด้อย เราเลือกหัวฉีดแก๊สใหม่ล่าสุด
ยี่ห้อ RAIL SPA ของอิตาลี
เราเอามาทดสอบในไทยร่วมปี ก่อนเลือกมาใช้ มีข้อดีคือ
ความต้านทานต่ำ 3 โอมห์ ปรับอัตราการไหลได้ จึงเริ่มต้นด้วยการฉีดที่เท่ากันในทุกหัว,
มีเกลียวที่หัวปรับและซ่อมได้ มีอะไหล่แยกเป็นชิ้นๆ ทั้งตัวโซลินอยด์และหน้าปิด-เปิด
และเป็นระบบสากวิ่งในปลอกยาว ขึ้น-ลงตรงแนว หน้าสัมผัสเป็นยางไวตัน
เหนียวและทนทาน (หัวฉีดที่ปั่นกระแส แท้จริงความต้านทานสูงถึง
15 โอมห์, ปรับอะไรไม่ได้ หัวฉีดไม่เคยเท่ากันใน 4-6 หัวในเครื่องเดียวกัน
แยกซ่อมไม่ได้ หน้าสัมผัสเป็นยางโอริงธรรมดา) ระบบเรามีไส้กรองแก๊ส
ทั้งก่อนลดแรงดัน-ด้านแรงดันสูง (ก่อนเข้าหม้อต้ม) และหลังลดแรงดัน-ด้านแรงดันต่ำ
ก่อนเข้าหัวฉีด (บางยี่ห้อ ไม่มีกรองก่อนเข้าหัวฉีด มีแค่ด้านก่อนลดแรงดัน)
หม้อต้ม-ตัวลดแรงดัน
ของอิตาลี ยี่ห้อ AUTOGAS พร้อมใส้กรองแก๊สแรงดันสูงอยู่ในตัวหม้อต้ม
(หรือยี่ห้ออื่นของอิตาลี) ที่ได้มาตรฐานยุโรป ECE-R6701 มีจุดเด่น
คือ การลดแรงดัน มีการเปิด-ปิดด้วยกระเดื่องยาวและแข็งขึ้น
- ลงตรง(หลายยี่ห้อใช้แบบกระเดื่องสั้น ที่มีการแกว่งตลอดที่เปิด-ปิด
แบบไม้กระดก)
ตัวกรองแก๊สแรงดันต่ำ
หลังออกจากหม้อต้ม ใช้ของ CERTOOLS โปแลนด์
จุดเด่นคือ ตัวกรองเป็นบัฟเฟอร์ - ถังพักขนาดใหญ่ เสื้อเป็นอลูมีเนียม
ไส้กรองไม่ใช่กระดาษ แต่เป็นโพลีเอสเตอร์ เปิด-เปลี่ยนไส้ในได้ไม่กี่ร้อยบาท
ระบบเรามีระบบออโต้เชนจ์
เมื่อแก๊สหมดจะตัดกลับระบบน้ำมันอัตโนมัติ
(บางยี่ห้อต้องจ่ายเพิ่ม 2 พันบาท) กล่องอีซียูของ
LambdaJet 32
Bit ความเร็วสูง 80 เมกะเฮิร์ต เร็วสุดในตลาด
เราเลือกเพราะโปรแกรมจูนมีความโดดเด่น
มีค่าแวคคัมเข้ามาร่วมในตารางจูน ซึ่งค่าแวคคัมนั้น แสดงโหลดหรือภาระของเครื่องได้เป็นอย่างดี
เหมือนกล่อง MOTEC ใช้ (แวคคัมมี คือ ขับเรื่อยๆ เมื่อแวคคัมหาย
แสดงว่าผู้ขับเร่ง) หลายยี่ห้อไม่ใช้แวคคัม เพราะเซนเซอร์แพง
และยุ่งยาก เลยทำโปรแกรมง่ายๆ ให้รถพอวิ่งได้ คุณมั่นใจและดีใจได้ว่า
GAS in CAR สรรหาสิ่งดีมา ด้วยการผสมผสานอย่างคัดสรรและตั้งใจ
หัวฉีด-ยี่ห้อ
RAIL อิตาลี โอมห์ต่ำ ซ่อมได้ ปรับจนเท่ากันทุกหัว, หม้อต้มอิตาลี-ไร้กระเดื่อง
มีกรองทั้งด้านแรงแรงดันสูง-ต่ำ พร้อมระบบตัดกลับน้ำมันอัตโนมัติเมื่อแก๊สหมด,
กล่องอีซียู –โวลทราน มีแวคคัมบอกโหลดเครื่อง ในขณะที่คนเห่อตามกระแส
ไปใช้ยี่ห้อที่ปั่นกระแส (ซึ่งเราไม่ได้เห่อตาม) ได้ตัวหัวฉีด
ที่ไม่เท่ากัน ซ่อมไม่ได้ โอมห์สูงถึง 15 โอมห์ ระบบเปิด-ปิดรูภายในเป็นแบบเหรียญบางพริ้วขึ้น-ลง
อัตราการไหลจึงแกว่ง, ไม่มีกรองด้านแรงดันต่ำ และถ้าจะให้มีระบบตัดกลับน้ำมัน
อาจต้องจ่ายเพิ่ม 2 พันบาท และการจูนใช้แบบง่ายๆ (ออโต้-จูน)
แค่อ้างว่า...เมื่อลองขับวิ่งเหมือนน้ำมันไหม ซึ่งคนทั่วไปแยกความแตกต่างไม่ได้
แต่ค่าแลมบ์ดาอาจเพี้ยนอยู่ตลอด อีกสิ่งที่สำคัญมาก
คือ เรา GAS in CAR มีการจูนนิ่ง อย่างตั้งใจและเข้าใจในค่าแลมบ์ดา
พร้อมใช้เอเอฟ มิเตอร์แบบไวด์แบนด์ เสียบท่อไอเสียช่วยอ่านความหนา-บาง
ขับปกติ-เน้นได้ค่าแลมบ์ดา 1.0 และเร่ง-โอเพ่นลูปคอนโทรล ได้ค่าแลมบ์ดา
0.85-0.90 ไม่ได้ใช้ความรู้สึกจูน และอ้างลอยๆ ว่าวิ่งเหมือนน้ำมันแบบอู่อื่น
เมื่อไรที่จะตรวจสอบหรือซ่อมระบบน้ำมัน
แค่กดสวิทช์ หรือถอดปลั๊กสีขาวบริเวณเครื่อง เอาปลั๊กด้านที่มีสายรัดสีขาวเสียบเข้าหากัน
ทุกอย่างจะกลับสู่ระบบเดิม และช่างทำงานไปตามปกติ ถึงแม้จะมีระบบแก๊สที่ติดตั้งอยู่ก็ตาม
เพราะระบบแก๊สไม่ได้ทำงานแล้ว หมายเหตุ
: ทำไมเราต้องผสม ? คำตอบคือ เราชำนาญและทราบดี จึงเลือกผสมแต่สิ่งที่เด่นๆ
ได้ ไม่ใช่ว่าต้องซื้อเหมารวมเพียงยี่ห้อเดียว ที่ไม่มีทางเด่นไปทุกชิ้นส่วน |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
ระบบหัวฉีดแก๊สที่ดี
โดย GAS in CAR
 1.
ไส้กรองแก๊สก่อนลดแรงดัน
ขนาดใหญ่ MARINI-ITALY ติดตั้งแยกจากหม้อต้ม จึงไม่ร้อน
 2.
หม้อต้ม AUTOGAS (หรือคุณภาพใกล้เคียง)
ITALY
 3.
ไส้กรองแก๊สหลังลดแรงดัน
CERTOOLS-POLAND เสื้ออลูมีเนียมหนา ไส้ในเป็นโพลีเอสเตอร์-ไม่ใช่กระดาษ
เปลี่ยนไส้ได้ ไม่ต้องทิ้งทั้งตัว
 4.
หัวฉีดเดี่ยว RAIL-ITALY
สูบละตัว 3 โอมห์ ปรับโฟล์วเรทเท่ากันเป๊ะ ซ่อมได้ตัวละ 700
บาท เปลี่ยนตัวละ 1,000-1,200 บาท
 5.
กล่องอีซียู ล่าสุด LambdaJet พัฒนาโดยคนไทย
ไม่ใช่เป็นกล่องควบคุมหัวฉีดแก๊สเท่านั้น แต่เกิดมาเพื่อเป็นโปรแกรมเอเบิล-อีซียู
สำหรับทุกเชื้อเพลิง รวมถึงรถแต่ง-รถแข่งด้วย มีหลายรุ่นหลายโปรแกรมแยกกัน
มีเพียงรุ่นหนึ่งที่นำมาใช่กับระบบแก๊สได้ (ชิพยี่ห้อ MICROCHIP
รุ่น PIC32 แบบ32 บิต 80 เมกะเฮิร์ต กล่องฯ แก๊สส่วนใหญ่เป็น
8 บิตทำงานช้าแค่ 4 เมกะเฮิร์ต ลองเปิดดู่คา เมกะเฮิร์ตที่ตัวคริสตัลได้
แม้ชิพจะลบเบอร์ไป) |
|
|
 |
|
|
ราคาไม่แพง
จนไม่ต้องสนใจระบบมิกเซอร์ที่พ่วงอะไรเข้าไปให้แพง เช่น วาริเอเบิลมิกเซอร์
หรือ แลมป์ดาคอนโทรล
ฯลฯ ซึ่งรวมแล้วแพงเป็น 2 หมื่นกว่าบาท สู้หันไปหาหัวฉีดแท้ๆ
ดีกว่า
ถัง
ใช้แบบมีโซลินอยด์ ไม่ใช่มือหมุนเดิมๆ จึงปลอดภัย เมื่อไม่มีไฟฟ้าแก๊สจะอยู่ในถังเสมอ
สำหรับเครื่อง
4 สูบ ถัง 55-58 ลิตร ราคาพร้อมแก๊ส พร้อมขับ 27,000 บาท
สำหรับเครื่อง
6 สูบ ถัง 75-78 ลิตร ราคาพร้อมแก๊ส พร้อมขับ 37,000 บาท
(ถ้าจะเพิ่มขนาดถัง เพิ่มราคาเล็กน้อย ติดต่อสอบถามก่อนตัดสินใจ)
จูนอย่างละเอียดด้วย
โน๊ตบุ๊ค พร้อม
เอ-เอฟ มิเตอร์แบบไวด์แบนด์ ไม่ใช้ออโต้จูน
ไม่ได้จูนแค่ให้รถวิ่งได้ แต่เราเน้นความสมบูรณ์ ส่วนผสมของแก๊สกับอากาศจะหนา-บาง
อย่างเหมาะสมตามสภาวะที่แตกต่างของเครื่อง
เราทราบดีว่าระบบหัวฉีดนั้นดี แต่ 4 สูบ 3 หมื่นบาทแบบยี่ห้ออื่นนั้นแพงไป
เราเพียรค้นหาของดีราคาถูก ต่อรองราคาแบบซื้อเยอะๆ จนได้มาเปิดตัวในราคานี้
4 สูบ 2 หมื่นกว่าบาท
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
เราให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานและครบครันจริง
ถัง
จากโรงงานในไทย ได้มาตรฐานมอก.และส่งออกทั่วโลก มีซับเพลทเชื่อมรองก่อนยึดขาเข้ากับถังทุกจุด
ยากที่ถังจะฉีกเมื่อขาฉีก
ถังทนแรงดันได้ระดับ 500 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว แต่แก๊สในถังมีแรงดัน
50-150 ปอนด์ฯ เท่านั้น
วาล์ว
ไม่ว่าแบบมัลติวาล์วหรือวาล์วแยก เราเน้นว่า ต้องมีโซลินอยด์
หรือ ติ๊กที่ขาออก
การมีโซลินอยด์ที่คอถัง จะมั่นใจได้ว่า เมื่อไรเครื่องดับหรือไฟฟ้าไม่มา
แก๊สจะอยู่ในถังไม่มีซึมออกไป ต่างจากถังมือหมุนแบบกลไกที่แก๊สจะไหลออกได้ตลอด
วาล์วทุกตัวของเรา
มีระบบตัดเมื่อเติมถึง 80-85 เปอร์เซ็นต์ตามกฎหมายไทยกำหนด
และถ้าบังเอิญมีแรงดันในถังเกิน 400 ปอนด์ฯ วาล์วจะระบายแก๊สออกนอกถัง
ไม่ให้ถังระเบิด
ขายึดถัง
ทำจากเหล็กแบนหนา 2 หุน ใช้แหวนรองหนาชุบซิงค์ ใช้น๊อตดำแข็ง
ด้านล่างทำแผ่นเหล็กแบนเป็นประกับกันกระชากตัวถังขาด
ท่อโปโลพลาสติกย่นดำ
ที่ต่อเข้าชุดวาล์วคอถังกับพื้นรถ เราเน้นไม่ให้มีการรั่ว
เพราะจะใช้ระบายแก๊สลงพื้น เมื่อฉุกเฉิน
|
|
|
 |
|
|
การเจาะพื้นรถ
จะทาสีกันสนิม การต่อท่อโปโลผ่านพื้น มียางร้อยขอบ หรือมีท่อประกบพร้อมเข็มขัดรัด
เพื่อให้ช่วยระบายแก๊สเมื่อรั่วได้จริง
ทำพรมสีเทาเข้ม
ห้อยปิดถัง เพื่อความสวยงาม
แป๊บทองแดง
มาตรฐานยุโรป ขนาด 6 มิลลิเมตร หนา 1 มิลลิเมตร ร้อยด้วยท่อยางสีดำหนาตลอดแนว
ใช้สายรัดพลาสติกรัดถี่ และพยายามไล่ตามแนวแป๊บน้ำมันเดิม
หัวท้ายแป๊บจะพยายามวนท่อก่อนต่อเข้าอุปกรณ์ใดๆ เพื่อให้มีความยืดหยุ่น
ทุกจุดต่อกันด้วยเกลียว ใช้ตาไก่ ไม่บานแบบชั้นเดียว หรือซิงเกิลแฟล์
ซึ่งเสี่ยงกับปลายแป๊บที่อาจบานแตก
หม้อต้ม
อิตาลี มาตรฐานยุโรป ECE R67-01 เลือกตรงกับแรงม้าของเครื่องจริง
มีไส้กรองแก๊ส
เพื่อลดความสกปรกของระบบ
มิกเซอร์
มีขนาดและทรงที่เหมาะสม เราพัฒนาและมีแท่นกลึงเอง
สวิทช์ออโต้
สำหรับเครื่องหัวฉีดจะเปลี่ยนใช้แก๊สเมื่อผู้ขับเร่งรอบถึงตามที่ตั้งไว้
ส่วนรถเครื่องคาร์บูฯ ใช้กล่องแบบเดียวกัน แต่ไม่มีระบบออโต้
เพราะต้องใช้เวลาในการไล่น้ำมันจากคาร์บูฯ
การต่อระบบไฟ
จะเน้นให้ติ๊กแก๊สทำงานเมื่อเครื่องหมุน ไม่ใช่แค่เปิดสวิทช์กุญแจแล้วติ๊กแก๊สทำงาน
การบอกปริมาณแก๊ส
มีหลอดไฟแอลอีดีหลายดวงเรียงอยู่ในสวิทช์ออโต้
ใส่กล่องตัดหรือหลอกหัวฉีด
หัวฉีดไม่ยกเลยตลอดการใช้แก๊ส ไม่ใช่ยกแผ่วๆ อยู่
ท่อยางท่อน้ำท่อแก๊สทุกเส้น
ใช้ท่อยาง 2 ชั้น ทนแรงดันได้ 300 PSI
ขายึดที่เติมยึดน็อต
2 ตัวเข้ากับตัวถัง มีจุกปิดที่เติมพร้อมสายสลิงกันหาย
สายไฟทุกจุดต่อด้วยการบัดกรี
กันช๊อตด้วยท่อหด ไม่ใช้การพันเทป
เช็คการรั่วของแก๊สในการติดตั้งก่อนส่งมอบ
ด้วยแก๊สดีเทคเตอร์ของอิตาลี มาตรฐานยุโรป ECE R67-01 ไม่ใช้ฟองผงซักฟอกโปะ
|
|
|
 |
|
|
ถ้างง...แล้วจะเทียบกับที่อื่นซึ่งราคาอาจถูกกว่า
ลองดูว่า
เป็นถังมีโซลินอยด์ไหม, ขายึดถัง หนาใช้น็อตดำและแหวนหนาไหม,
หม้อต้มอิตาลี, ตัวกรองแก๊ส, แป๊บหนา, ท่อยางดำหุ้มหนา, ออโต้สวิทช์,
กล่องหลอกหัวฉีด, ท่อยางหนาทนแรงดันสูง, เข็มขัดรัดอย่างดี,
แก๊สเต็มถัง, เช็คการรั่วของแก๊สชัวร์ไหม คุณอาจพบว่า
ที่อื่นราคาถูกกว่า แต่ใช้ถังมือหมุน, ขายึดไม่แน่นหนา, ไม่มีพรมห้อยปิดบังถัง,
การเดินท่อโปโลจากคอถังกับพื้น ไม่ระวังเรื่องการมีรูรั่ว, หม้อต้มสารพัดสัญชาติหรือของเก่า,
ไม่มีตัวกรองแก๊ส, ใช้บานแป๊บชั้นเดียว ไม่ใช้ตาไก่หรือบาน 2
ชั้น, ไม่วนแป๊บเพื่อยืดหยุ่น , ท่อยางร้อยแป๊บแบบบาง ไล่แนวไม่ดี,
ท่อยางน้ำหรือแก๊สแบบทนแรงดันต่ำ, เข็มขัดรัดคุณภาพต่ำ, สวิทช์โยกแบบโบราณ,
ไม่มีตัวบอกปริมาณแก๊สหรือต่อรวมกับเกจ์น้ำมัน ซึ่งไม่แม่น,
ไม่ใส่กล่องหลอกตัดหัวฉีด, การต่อสายไฟใช้พันเทป ไม่ใส่ท่อหด,
มิกเซอร์ใช้รูในเล็กเกินไปจนเหมือนบีบจมูกเครื่อง, ขายึดที่เติมไม่แน่นหนาหรือใช้น็อตตัวเดียว,
ไม่มีจุกปิดที่เติม หรือมีแต่ห้อยด้วยสายไฟหรือโซ่ไม่สวย, ไม่ให้แก๊สในถัง
เรียกเก็บเงินเพิ่ม หรือให้นิดเดียว, ตรวจการรั่วของแก๊สด้วยฟองผงซักฟอกแบบผ่านๆ |
|
|
 |
|
|
 |
|
|
ราคาเริ่มต้น
พร้อมถัง 55-58 ลิตร 15,000 บาท
ถ้าจะเพิ่มขนาดถังเป็น
75-78-100 ลิตร เพิ่มเงินอีกตามราคาตลาด
เครื่องเบนซ์
เคเจ็ททรอนิกส์ เครื่องเทอร์โบ หรือรถที่ต้องใช้หม้อต้มซูเปอร์
หรือเปลี่ยนท่อไอดีเป็นโลหะ ต้องเพิ่มเงินบ้าง และต้องสอบถามก่อนติดตั้ง
ในระบบฟิกมิกเซอร์กับการติดตั้งใหม่
เราไม่อยากใส่อุปกรณ์พ่วงให้แพงขึ้น เช่น แลมป์ดาคอนโทรล หรือวาริเอเบิลมิกเซอร์
ที่บางอย่างไม่ได้ดีจริง หรือดีขึ้นนิดเดียว แต่ทำให้ราคาแพงเป็น
2 หมื่นกว่าบาท ซึ่งถ้าอย่างนั้นแนะนำให้ขยับไปเล่นหัวฉีดแก๊สแท้ๆ
ดีกว่า
นอกจากรถที่ติดตั้งระบบฟิกมิกเซอร์อยู่แล้ว
เราจะพยายามหาอุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพได้จริง ในราคาไม่แพงมาให้ใช้กันในอีกไม่นาน
ถ้าต้องการใบวิศวกร
เพื่อนำไปจดเปลี่ยนแปลงกับกรมการขนส่งฯ เพิ่ม 1,000 บาท จ่ายเมื่อต้องการใบฯ
ถ้าไม่ต้องการก็ไม่ต้องจ่าย ไม่เก็บเหมารวม
|
|
|
 |
|
|
ความรู้และความเคลื่อนไหวของ
LPG ทางเราจะค่อยๆ นำเสนอและอัพเดทให้อ่านครับ |
|
|
|
|
|
ใครที่มองว่าแอลพีจีจะขาดแคลน
เพราะเราใช้กันในรถเยอะขึ้น ต้องดูตารางการส่งออกปิโตรเลียมจาก
http://www.eppo.go.th/info/stat/T02_04_02.xls.
จากเวบไซต์ของกระทรวงพลังงานตามที่ยกมาให้ดูครับ
|
|
|
 |
|
|
 |
|
|
ช้ากว่าที่อื่นจริงครับ
! งานส่วนใหญ่ที่เข้ามา
คือ งานจูน (จูนนิ่ง-TUNING) ปรับตั้งการจ่ายแก๊ส
ในปัญหา วิ่งไม่ออก, เดินเบาไม่เรียบ
หรือ กินแก๊ส โดยเจ้าของรถส่วนใหญ่
คิดแต่เพียงว่า เมื่อมีอาการผิดปกติ นั่นคือ ต้องจูนแก๊ส ไม่กี่นาทีก็เสร็จ
แต่ช้าก่อน...เราเซอร์วิสช้ากว่า...เพราะ...
[ คลิ๊กอ่านรายละเอียดต่อด้านใน
] |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|